top of page
Writer's pictureChotipat Chotsabchonlakorn

Office syndrome, the popular disease of people in the 21st century

ในปัจจุบันกำลังเป็นช่วงที่มีโครงสร้างของประชากรที่อยู่ในวัยเรียน และวัยทำงานเป็นประชากรส่วนใหญ่ ด้วยเหตุนี้ออฟฟิศซินโดรมถึงได้มีการรู้จักในวงกว้างมากขึ้น เพราะกำลังมีผู้คนจำนวนมากประสบปัญหานี้ และยังคงมีแนวโน้มที่จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุปัจจัยภายนอกหลายๆประการณ์ และในวันนี้ พวกเราทีม DooRae ก็จะมาเล่าถึง สาเหตุของโรค อาการแสดงต่างๆ สามารถป้องกันและรักษาได้อย่างไร และเมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์


ออฟฟิศซินโดรม คือ กลุ่มโรคที่มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อ เยื้อบุผังผืด และเส้นประสาท โดยที่มีสาเหตุหลักมาจาก สภาพแวดล้อมในการทำงาน พฤติกรรมขณะทำงาน รวมทั้งการจัดวางสรีระร่างกาย ในตำแหน่งต่างๆ และการเคลื่อนไหวที่ซ้ำไปมา ซึ่งสาเหตุเหล่านี้สามารถพบเจอได้มากในประชากรวัยเรียน และวัยทำงาน ที่มีลักษณะการใช้ชีวิตประจำวัน ที่ต้องอยู่กับโต๊ะประกอบกับท่าทางการนั่ง การวางหรือใช้สรีระอยู่ในตำแหน่งเดียวเป็นเวลานานเพื่อจดจอกับหนังสือ หรือคอมพิวเตอร์ เป็นต้น และจึงส่งผลให้เกิดความเครียดและเกร็งของกล้ามเนื้อในจุดต่างๆได้ทั่วร่างกาย โดยมีบริเวณที่พบบ่อยได้แก่ คอ บ่า ไหล่ สะบัก และ หลัง อาการปวดจะเป็นแบบแพร่วงกว้าง อีกทั้งยังสามารถมีอาการแสดงอื่นๆร่วมด้วยได้ เช่น อาการชาบริเวณ ต้นแขน มือ และปลายนิ้ว ซึ่งแสดงถึงเส้นประสาทที่ถูกกดทับในบริเวณนั้นๆเป็นเวลาอย่างต่อเนื่อง

การป้องกันออฟฟิศซินโดรมนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะถ้าหากเรามีสุขภาพที่ไม่ดี ก็อาจจะส่งผล กระทบได้ในหลายด้านของชีวิตประจำวันได้เลย ไม่ว่าจะเป็น ประสิทธิภาพในการทำงานที่ลดลง หรือความสะดวกสบายในการเคลื่อนที่ในอริยบทต่างๆที่ลดลงจากอาการปวดที่เรื้อรัง


1. การนั่งในท่าทาง หรืออริยบทที่เหมาะสมและถูกต้องสำหรับการทำงานแต่ละงาน เช่น การนั่งให้หลังตรง ไม่คดงอ จนมีลักษณะหลังค่อม

2. การปรับเปลี่ยนท่าอริยบทในการทำงาน ในทุกๆ 30-50 นาที หรือมีการพักระหว่างช่วงนั้นเพื่อให้กล้ามเนื้อบริเวณที่ถูกใช้งานหนักได้ผ่อนคลาย โดยอาศัยการยืดและบริหารกล้ามเนื้อมัดต่างๆตั้งแต่ต้อคอ ลงมายังลำตัว และนอกจากนี้การพักสายตายังเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญ เพราะในดวงตาเราก็มีกล้ามเนื้ออีกหลายมัดที่ทำงานหนักตลอดเวลา

3. การเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมต่อสรีระร่างกายของมนุษย์ จะสามารถช่วยให้กล้ามเนื้อไม่ถูกฝืน หรือเกรงมากจนเกินความจำเป็น ตัวอย่างเช่นหากเป็นคนที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ก็ควรจัดวางจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับที่พอดีกับสายตา หรือการใช้เมาส์ที่มีการออกแบบให้ถูกตามหลักสรีรศาสตร์ (Ergonomic Mouse) และหากเป็นคนที่ต้องออกแรงเป็นจำนวนมากก็ควรมีเข็มขัดพยุงหลัง เพื่อช่วยป้องกันการบาดเจ็บได้

การรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมสามารถทำได้ หลากหลายรูปแบบ โดยการรักษาเบื้องต้นควรเริ่มต้นมาจากการแก้ไขพฤติกรรมที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่างๆ จากนั้น ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการกล้ามเนื้ออักเสบก็สามารถรักษาได้ด้วยยาที่ช่วยลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ การทำกายภาพบำบัดเป็นหนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยมและมีแพร่หลายทั่วไป และการใช้คลื่นกระแทกเพื่อรักษาอาการปวด นอกจากนี้ก็ยังมีทางเลือกอื่น เช่น การนวดแผนไทย และการฝั่งเข็มเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
โรคออฟฟิศซินโดรมอาจจะไม่ใช่โรคที่ดูแล้วน่ากลัวหรือร้ายแรง แต่หากทิ้งไว้เป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดภาวะการเจ็บปวดที่เรื้อรัง และรุนแรงมากขึ้น เพราะฉะนั้นควร ออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างสุขภาพร่างกายและกล้ามเนื้อที่แข็งแรงเสมอ และหากมีอาการเจ็บปวดที่เกินแก่การรักษาเบื้องต้น ก็ควรเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือปรึกษาแพทย์ผ่านช่องทางของทีม DooRae เพื่อตรวจรับการวินิจฉัย และรักษาอย่างถูกต้องต่อไป



4 views0 comments

Recent Posts

See All

Comments


bottom of page