ภาวะขาดสารอาหาร:เป็นอะไรถึงขาดสารอาหาร หรือขาดสารอาหารเพราะเป็นอะไร?
ภาวะขาดสารอาหาร คือ ภาวะที่สารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างร่างกายให้เติบโต แข็งแรง และสร้างพลังงานให้แก่ร่างกาย มีไม่เพียงพอ ในเด็ก ภาวะขาดสารอาหารสามารถส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโต เนื่องจากร่างกายจะไม่สามารถดึงดูดสารอาหารที่สำคัญไปใช้ได้ อาการของเด็กที่มีน้ำหนักน้อย ตัวเล็กกว่าปกติ ภูมิต้านทานโรคต่ำ ทำให้เกิดโรค หรือเกิดการติดเชื้อต่างๆ ได้ง่าย และการพัฒนาสมอง สติปัญญา และการเรียนรู้ที่บกพร่องอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะขาดอาหารในเด็ก ในขณะที่หากเป็นผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ ภาวะขาดสารอาหารก็สามารถทำให้น้ำหนักตัวลดลงได้เช่นกัน อีกทั้งยังสามารถนำไปสู่ โรคกระดูกพรุน ทำให้กระดูกหักได้ง่าย ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ติดเชื้อได้ง่าย แผลหายช้า เป็นผลทำให้ต้องนอนโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานาน คุณภาพชีวิตแย่ลง อัตราการเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น
ขอบคุณภาพจาก: https://read.cash/@Ushna/malnutrition-leads-to-kwashiorkor-and-marasmus-040eb1d2
สองภาพข้างต้นเป็นผู้ป่วยภาวะขาดอาหารทั้งคู่ ถึงแม้ว่าเด็กในรูปภาพขวามืออาจไม่ได้ดูเหมือนผู้ป่วยขาดสารอาหารเท่าไหร่นัก นั่นเป็นเพราะผู้ป่วยทั้งสองคนมีภาวะขาดอาหารต่างชนิดกัน คือ
ภาวะขาดสารอาหารแบบ Kwashiorkor
ขอบคุณภาพจาก: https://hosbeg.com/kwashiorkor/
ภาวะขาดสารอาหารแบบ Kwashiorkor เป็นการขาดสารอาหารชนิดโปรตีน เท่านั้น ทำให้ร่างกายที่มี insulin จากการได้รับสารอาหารชนิดแป้ง ซึ่งทำให้ไม่เกิดการสลายตัวของไขมันและกล้ามเนื้อ ในผู้ป่วยจากถาวะการขาดอาหารชนิดดังกล่า โปรตีนจะถูกดึงมาจากสารที่เรียกว่า albumin ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตและการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย นอกจากนั้น albumin ยังช่วยควบคุมความสามารถในการเก็บน้ำไว้ในหลอดเลือด ภาวะบวมน้ำามารถเกิดขึ้นได้ หากมีการบกพร่องของ albumin ในร่างกาย
ผู้ป่วยภาวะขาดสารอาหารแบบ Kwashiorkor จะมีมีเส้นผมสีดำสลับขาว (Flag sign), ผิวแตกแห้ง เป็นเกล็ด (Flaky paint) และสามารถพบในรูปแบบภาวะแทรกซ้อนเช่น ในผู้ป่วยที่นอนในโรงพยาบาลนานๆ เป็นต้น
ภาวะขาดสารอาหารแบบ Marasmus
Comments